วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 วันพูธที่ 28 มกราคม พ.ศ 2558


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558



นื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับ
   
   1.ทฤษฎีเพียเจต์ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
   2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   3.ขอบข่ายของหลักสูตรทางคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   4.หลักการในการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย



ทฤษฎีเพียเจต์ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

   -เด็กจะเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  
  -เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจในพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่น รู้จักคำศัพท์ การบวก ลบ  การค้นหาคำตอบด้วยตนเองเป็นต้น

  
ขอบข่ายของหลักสูตรทางคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

  การสังเกต 
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
   -โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
  
  การจำแนกประเภท
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
   -เกณฑ์การจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
  
  การเปรียบเทียบ
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

  การจัดลำดับ
   -เป็นลำดับการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

  การวัด
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
      (การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด)

  การนับ
     -เด็กชอบการนับเป็นการท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
     -การนับแบบท่องจำนี่จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงฆ์บางอย่าง
       รูปทรงและขนาด
    -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน


หลักการในการสอนคิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

   -ใช้สื่อที่น่าสนใจและเป็นของจริงจะทำช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้มากขึ้นเด็กจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  ลงมือปฏิบัติจริง เด็กจะได้ใช้ทั้งความคิด  มีการเข้าหาสังคมกับเพื่อนๆ


วิธีการสอน
  - ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้ทราบถึงความรู้เดิม
  - มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทวนความรู้เดิม
  - ใช้เทคโนโลยีในการสอน
  -นักศึกษาเลขที่ 7-9นำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
  -การร้องเพลง การแปลงเพลง

ทักษะที่ได้รับ
  -ได้ใช้ทักษะในการคิดหาคำตอบ
  -ได้ค้นหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
  -เข้าใจเนื้อหาในการเรียนมากขึ้น


การประยุกต์ใช้
   - นำประสบการณ์การจากการเรียนมารับใช้ในการจัดประสบการณ์ได้เด็กได้เข้าคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในการเรียน
   -สนุกสนานมีการร้องเพลง เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามได้ เก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ  อุปกรณ์ในการสอนพร้อมใช้งาน


ประเมินตนเอง
      มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี


ประเมินเพื่อน              
       เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดีแลดูเข้าใจตอบคำถามได้ดี


ประเมินอาจารย์              
        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ร้องเพลงเพราะ







วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู










 การใช้หุ่นมือ - Early Years

การใช้หุ่นมือในการสอน เป็นการช่วยกระต้นให้กิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ ครูต้องแนะนำให้เด็กรู้จักหุ่นมือ ทำความคุ้นเคยกับหุ่นก่อน เพื่่อที่เขาจะได้ไม่กลัว ให้เด็กได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด คุณครูสามารถใช้หุ่นมือในการบูรณาการในการสอนได้ทุกเรื่องเช่นคณิตศาสตร์ การใช้ชีวิตประจำวัน เพราะหุ่นมือสามารถดึงดูดความสนใจจากเด็กได้ดี ในกรณีที่เด็กไม่ค่อยกล้าพูด กล้าแสดงออก คุณครูก็ใช้หุ่นมือเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กกล้าพูดได้ ครูควรเตรียมหุ่นมือไว้หลาย ๆ แบบเพื่อที่เด็กจะได้กล้าเล่นกับหุ่นตัวที่เขาชอบและรู้สึกไม่อึดอัด การสอนด้วยหุ่นมือนี้เป็นสื่อการสอนในการจัดกิจกรรมได้ดีมาก

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 วันพูธที่ 21 มกราคม พ.ศ 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558


นื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับ
- ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
- การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
ความหมายพัฒนาการและประโยชน์
พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์
เพื่อให้รู้ถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล
รู้ความสามารถของเด็กเพื่อจักกิจกรรมให้เหมาะสม



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

- ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์  
 
   
 1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู

 2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
       ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข

3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่



- ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์ 
เด็กจะสร้างภาพขึ้นมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 
 เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) 
  ทฤษฎีการเรียนรู้ 
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
-ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
-ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
-ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้ 
ความสามารถของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีจะต้องมีความช่วยเหลือจากครูและผู้ปกครองและเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลงมือทำแบบอิสละและเลือกได้
ประโยชน์ของการเรียนรู้
เพื่อให้เราอยู่รอดเป็นทักษะของชีวิต
เพื่อจะได้จักกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้


วิธีการสอน
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิม
- มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทวนความรู้เดิม
- ใช้เทคโนโลยีในการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้              
             นำความรู้ที่ได้รับมาเพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้และพัฒนาการตามช่วงอายุและตามความสามารถของเด็กแต่ละคน


ประเมินตนเอง
               มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนแอบง่วงนอนเพราะนอนดึก


ประเมินเพื่อน              
              เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดีแลดูเข้าใจตอบคำถามได้ดี


ประเมินอาจารย์              
             แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ร้องเพลงเพราะ










วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 15 มกราคม พ...2558



เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ความหมาย
เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับเลขและการคำนวณ  เป็นวิชาที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของทุกคน รวมไปถึงทุกวิชาชีพ ซึ่งเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ม่ใช่เพียงแต่ตัวเลข เด็กจะเรียนรู้จากการสังเกต เปรียบเทียบจำนวน สั่น-ยาว   สูง-ต่ำ  เป็นต้น


ความสำคัญ
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดและพิสูจน์อย่างมีเหตุผล  เป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์สื่อความหมาย อย่างรัดกุมและถูกต้อง  นอกจากนี้ยังสามารถฝึกไหวพริบ  ปฏิภาณต่างๆ  การมีระเบียบมีขั้นตอน การเรียนรูตามแบบแผน  ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเนื่องจากเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ต่างๆ
แนวคิดพื้นฐาน
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการคิดที่พัฒนาด้านต่างๆโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์
1.เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ 
2.สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.สามารถนำไปใช้ในเกมการศึกษาได้ เช่น  จับคู่จำนวน  จับคู่รูปทรง เป็นต้น


สาระที่เด็กปฐมวัยต้องรู้
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


วีธีการสอน
    เรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการกลุ่ม


ทักษะที่ได้
 -ทักษะด้านการคิด
-ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม


การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
 -การสรุปความ
-การพูดอภิปราย
-การทำงานเป็นกลุ่ม


การประยุกต์ใช้
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปจัดกิจกรรม ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะตามศักยภาพของตนเอง


บรรยากาศในชั้นเรียน
อุปกรณ์ในห้องไม่พร้อมใช้งานอาจารย์จึงเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการกลุ่ม  บรรยากาศในห้องเงียบสงบ 


ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย แต่ฟังคำสั่งของอาจารย์ไม่ค่อยเข้าใจ เพราะแอบง่วงนิดหน่อย


ประเมินเพื่อน
 เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีทำงานตามที่ได้รับหอบหมายได้ดี



ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการแก้ปัญหาได้ดี  คำพูดชัดเจน ฟังแล้วเข้าใจ






วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย



สรุปวิจัย




ศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คลิดอ่านงานวิจัยได้ที่นี่



เรื่อง:การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548
ผู้แต่ง:จินตวี พรมฟอง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเรียนของเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล  การเปรียบเทียบผลการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ก่อนและหลังเรียนโดยนำผลการทดสอบมาหาค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งหมดและส่วนเบี่ยงเบนของมาตรตราฐาน   และเลือกเนื้อหาที่อยู่ใกล้ตัวของนักเรียน  เป็นเรื่องที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของนักเรียน  และเมื่อนักเรียนได้รับการจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์แล้วนักเรียนสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สรุป
1.ได้แผนจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งบูรนาการทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะการรู้ค่าขอจำนวนและตัวเลข  การนับ เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ การวัด  รูปทรงเลขาคณิต  พื้นที่
2.ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ทั่งก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน
3.ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนพบว่านักเรียนทุกคนมีความคิดรวบยอด  สามารถตอบคำถามได้ใน เรื่องทักษะการรู้ค่าขอจำนวนและตัวเลข  การนับ เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ การวัด  รูปทรงเลขาคณิต  พื้นที่




สรุปบทความ








สอนคณิตอย่างไรให้สนุก ( สำหรับเด็กปฐมวัย )
โดย...วรารัตน์  สิริจิตราภรณ์
โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)



เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ได้โดยหาวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย พัฒนาการของเด็กดังเช่นเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการเล่น และได้สัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน โดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย บางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก  ลูกบอล ตัวต่อ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เช่นในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไม้ดอกไม้ประดับ และต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการจำแนกสิ่งต่างๆเราสามารถจัดเด็กเป็นกลุ่มย่อยและนำสื่อของจริงเช่นดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีสีต่างๆมาให้เด็กสังเกตและจำแนกดอกไม้ตามชนิด  สี กลิ่นของดอกไม้   นอกจากนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้อีก


วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 1 วัน พุธ ที่ 7 เดือน มกราคม 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ 2558





เนื่้อหาที่เรียน
         แนวทางการปฏิบัติที่คาดหวังที่คาดหวังมี 6 ด้าน ดังนี้
- คุณธรรม จริยธรรม เช่น การตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ อดทน 
- ความรู้ตัวเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับทฤษฎีที่เรียนในวิชานั้นๆ เราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
- ทักษะทางปัญญา เราจะต้องเอาความรู้เอาทักษะทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จะต้องมีความเคารพในการตัดสินใจของผู้อื่น และให้ความเคารพ
  ผู้ที่อาวุโสกว่า
- ทักษะทางตัวเลข ประมวล  สาระสนเทศ 
- ทักษะของการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ให้เด็กนั้นเราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ           จัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กแต่วัยเพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกัน

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องที่สะท้อนความสามารถของเด็กเรียนพัฒนาการเพื่อรู้การเจริญเติบโตของเด็กเพื่อจัดประสบการณ์ให้เหมาะกับพัฒนาการ

ทักษะ
    ทักษะที่ได้ในวันนี้ 
1) ทักษะทางการคิดตอบคำถาม 
2) ทักษะทางการฟัง 
3) ทักษะทางการสรุปความเข้าใจเป็น My Map

วิธีการสอน 
1) การระดมความคิด
2) การใช้โปรแกรม My Map
3) การใช้สื่อ Online

การประยุกต์ใช้
1) การระดมความคิด ในการประยุกต์ใช้คือการให้เด็กได้รู้จักคิดตอบคำถามโดยไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด     เพื่อเป็นการให้เด็กกล้าแสดงออกและมีความเชื่อมั่นในตนเอง
2) การใช้โปรแกรม My Map ให้สรุปความคิดเป็นหมวดหมู่เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
3) การใช้สื่อ Online เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการเรียน

บรรยากาศในการเรียน
   บรรยากาศในการเรียนวันนี้อากาศในห้องแอร์เย็น พื้นสะอาด คอมพิวเตอร์พร้อมใช้งานแต่วันแรกของการเรียนเพื่อนมาน้อย

การประเมินผลอาจารย์ผู้สอน:
    -

ปล. เนื่องจากไม่ได้มาเรียนในวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ 2558 จึงไม่สามารถประเมินอาจารย์ผู้สอนได้และได้อ้างอิงเนื้อหาจากการเรียนการสอนในวันนี้จาก นางสาว เบญจมาศ ธิอักษร คะ