วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15 วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 1 เมษายน พ...2558



ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาสีของมหาวิทยาลัย
*มีการเรียนชดเชย*





บันทึกอนุทินครั้งที่ 14 วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2558






บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ...2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)


นักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด


สาระที่ควรเรียนรู้
      - ตัวเด็ก
      - บุคคลรวมตัวเด็ก
      - ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
      - สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
1.ภาษา
2.สุขศึกษา
3.สังคมศึกษา
4.ดนตรี
5.ศิลปะ
6.วิทยาศาสตร์ เป็นต้น


พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์
3.ด้านสังคม
4.สติปัญญา


การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
3.กิจกรรมเสรี 
4.กิจกรรมกลางแจ้ง 5
.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 
6.เกมการศึกษา


ประเภทของเกมการศึกษา
1.เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
2.เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
4.เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
5.เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
6.เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
7.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
8.เกมพื้นฐานการบวก


เทคนิคและวิธีการสอน
1.เพลง
2.นิทาน
3.เกม
4.คำคล้องจอง
5.สื่อ
6.ปริศนาคำทาย


การจัดลำดับในการสอน
1.ขั้นนำ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุป


การประเมิน
1.การสังเกต
2.การสนทนา
3.ชิ้นงานหรือผลงานของเด็ก


กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง
1.นับจำนวนเงินที่จ่ายในการไปตลาดกับผู้ปกครอง
2.การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
3.การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
4.การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
5.ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหาร



วิธีการสอน

- นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง
  กลุ่มในสาระที่ 5
  กลุ่มในสาระที่ 6
-อภิปรายเนื้อหาและถาม-ตอบ
-มีการยกตัวอย่าง



ท้กษะ

- ได้ใช้ความคิดในการหาคำตอบ




การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำความรู้ที่ได้รับทั้งหมด การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน เช่น การใช้นิทานในการสอน คำคล้องจองต่างๆ



บรรยากาศในห้องเรียน
     - เงียบสงบ
     - โต๊ะเรียงกันเป็นรูปครึ่งวงกลม



ประเมินตนเอง
      - ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้
      -ตั้งใจเรียน
      -แอบง่วงเพราะทำงานเลิกดึกค่ะ


ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความตั้งใจในการหาคำตอบเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์    
      - อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก







บันทึกอนุทินครั้งที่ 13 วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ 2558





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 27 เมษายน พ...2558



เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)



ในวันนี้เป็นการสอบในเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดโดยมีคำถามดังต่อไปนี้
 (ใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการทำ)

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการ       ศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัด     ประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่ง        ของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง 
     
      คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง



เนื้อหาที่อาจารย์สรุปให้
  










วิธีการสอน

- ให้นักศึกษาทำแบบประเมิน



ท้กษะ

- ได้ใช้ความคิดในการหาคำตอบ




การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
      - ในที่นี้ดิฉันได้ไปทำที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม บรรยากาศเงียบสงบ แอร์เย็นสบาย

ประเมินตนเอง
      - สามารถทำงานมาตามที่อาจารย์มอบหมายและส่งตรงตามเวลาที่กำหนดได้



ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความตั้งใจในการหาคำตอบเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์    
      - อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก






วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 23 เมษายน พ...2558



เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)


กิจกรรม 
 -  อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และนักศึกษาท้ายว่ามีขนมในกระปุกจำนวนเท่าไร? ให้ตัวแทน 1 คน มานับจำนวนขนมที่อยู่ในกระปุก โดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10 (ขนมในกระปุกมีอยู่ 32 ชิ้น)
อาจารย์ให้เด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า
อาจารย์ให้สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน

               *นักศึกษานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*

กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง  สตรอเบอร์รี่ 

ขั้นนำ
- ครูร้องเพลงสตรอเบอร์รี่ 
-  ถามเด็กว่ามีสตรอเบอร์รี่พันธ์ไหนบ้างในเนื้อเพลง(ครูเขียนMind Mappingตามที่เด็กตอบมา)
- ถามเด็กว่ารู้จักสตรอเบอร์รี่พันธ์อื่นหรือไหม(ครูเขียนMind Mappingตามที่เด็กตอบมา)

ขั้นสอน
- นำสตรอเบอร์รี่ใส่ภาชนะออกมาให้เด็กดู (ควรเป็นสตรอเบอร์รี่ของจริง)
- ให้เด็กนับสตรอเบอร์รี่ ว่ามีกี่ผล แล้วเอาออกมาวางไว้ที่โต๊ะโดยวางให้คละกัน
-ให้เด็กออกมาแยกสายพันธ์ของสตอเบอร์รี่ โดยเรียงเป็นแถวขนานกัน
- ถามเด็กว่าสตรอเบอร์รี่พันธ์ไหนมีมากว่ากัน
- หาคำตอบโดยให้เด็กออกมาจับคู่ แบบ 1ต่อ1 พันธืไหนเหลือแสดงว่ามีมากกว่า  พันธ์ใหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่า

ขั้นสรุป
-ถามเด็กว่าจำมีสตรอเบอร์รี่พันธ์ไหนที่เรารู้กันบ้าง (เป็นการทบทวนพันธ์ของสตอเบอร์รี่)
- ร้องเพลงสตรอเบอร์รี่อีกครั้ง
 


วิธีการสอน

- ให้นักศึกษาออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาได้ระดมความคิดในการทำงานกลุ่ม



ท้กษะ

- ได้ใช้ความคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
- ทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น
- การกล้าแสดงออก



การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
      - มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
      - สามารถทำงานมาตามที่อาจารย์มอบหมายและนำเสนอหน้าห้องได้พอใช้



ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดีตั้งใจทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย



ประเมินอาจารย์    
   - แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง  มีวิธีการสอนที่  สอดแทรกกิจกกรม ที่ทำให้สนุกกับการเรียน  มีการกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา  อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก









บันทึกอนุทินครั้งที่ 11 วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 8 เมษายน พ...2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
 
1 ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม    กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
1.  กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


แบ่งกลุ่มทำ  Mind Mapping 
                                       
                                         แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม  




กลุ่มผลไม้  สตรอเบอร์รี่  ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้
- ชนิด (สายพันธ์)
- การขยายพัธ์
- การดูแลรักษา
- ประโยชน์
- ข้อควรระวัง
- ลักษณะ
*ตอจากการทำ Mind Mapping ในครั้งนี้ได้อ้างถึงในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย และเขียนแผน
การจักประสบการณ์คณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*




วิธีการสอน

-มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการสอน
- ให้นักศึกษาได้ระดมความคิดในการทำงานกลุ่ม


ท้กษะ

- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำ Mind Mapping
- ทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น



การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
      - มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
      - สามารถทำงานมาตามที่อาจารย์มอบหมายและนำเสนอหน้าห้องได้พอใช้



ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดีตั้งใจทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย



ประเมินอาจารย์    
   - แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง  มีวิธีการสอนที่  สอดแทรกกิจกกรม ที่ทำให้สนุกกับการเรียน  มีการกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา  อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก