วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ 2558







บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ...2558



เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

กิจกรรมต่อไม้เป็นรูปต่างๆ
 อุปกรณ์ 
   - ดินน้ำมัน
   - ไม้เสียบลูกชิ้น หักเป็นท่อน 
     
     1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
     2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
     3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้
     4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
     5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
     6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้


นำเสนอรูปแบบการสอน
     กลุ่มที่ 1 นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ 
ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน ..... อ่านต่อได้ที่:        https://www.gotoknow.org/posts/503849




กลุ่มที่ 2   นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)

           วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว





กลุ่มที่ 3  นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL

วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
             3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
             4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ 
             5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
             6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 




กลุ่มที่ 4  นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
  
              STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
              - Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
              - Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
              - Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



วิธีการสอน

เก็บตก  
    นำเสนอโทรทัศน์ครู
        เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
        เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

    นำเสนอบทความ
         เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ท้กษะ

- ได้เทคนิคการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม
-กล้าแสดงออก




การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำไปใช้ในการเรียนการสอน การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน
      - มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง
      - สามารถทำงานมาตามที่อาจารย์มอบหมายและนำเสนอหน้าห้องได้พอใช้



ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดีตั้งใจนำเสนองานหน้าชั้นเรียน



ประเมินอาจารย์    
   - แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่  สอดแทรกกิจกกรม       ที่ทำให้สนุกกับการเรียน  มีการกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา  










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น